วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


นวัตกรรมการเรียนการสอน
สรุป บทที่6
            “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
จากการที่ได้เรียนรู้นวัตกรรมทางการศึกษา ทั้งที่ยังคงมีใช้อยู่ บางอย่างเริ่มสูญหายไป และบางอย่างก็กำลังเกิดขึ้นมา ตามพัฒนาการของเทคโนโลยีในทุกๆแขนง นวัตกรรมทางการศึกษาในแต่ละประเภท ต่างมีจุดเด่น และข้อจำกัดอันเป็นผลจากเทคโนโลยี แต่สิ่งที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีอันทันสมัยก็ไม่ใช่กระบวนการจัดการศึกษา ที่ดีที่สุดของการจัดการศึกษายังคงต้องพึ่งพานวัตกรรมในเชิงผสมผสาน ปรับไปตามกลุ่มเป้าหมาย เปลี่ยนแปลงไปตามจุดประสงค์ของการศึกษา
หากสรุปให้ถึงแก่นจริงๆแล้วการจัดการศึกษาจะอยู่ภายใต้กระบวนการอยู่ 2 รูปแบบ..... คือ
1.แบบ Live
ลักษณะนี้ทั้งผู้เรียนและครูผู้สอนต้องร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน ณ เวลาจริง หรือ Synchronous เป็นรูปแบบการเรียนรู้(การศึกษา) ที่ต้องมีเงื่อนไขของเวลาเป็นสิ่งสำคัญ อยู่ภายใต้ตารางสอน(เรียน) ปริมาณเนื้อหา ถูกส่งผ่านจากครูสู่ผู้เรียนโดยตรง ตามกรอบของหลักสูตรที่กำหนดไว้

2.แบบ On Demand
ลักษณะเรียนรู้อิสระตามความต้องการตามช่วงเวลาที่เลือก หรือเรียกว่า Asynchronous ครูที่เคยทำหน้าที่สอนจริงๆ จะมาทำหน้าที่ผู้สร้างองค์ความรู้ และหรือผู้ชี้นำ ผู้ให้คำปรึกษา หรือครูที่ปรึกษาหลักสูตร เนื้อหาจะถูกส่งผ่านสื่อ หรือช่องทาง ถึงผู้เรียน ซึ่งตัวผู้เรียนสามารถควบคุมปริมาณเนื้อหา เลือกช่วงเวลาที่พร้อมที่จะรับรู้ ในการเรียนรู้ระบบ on demand อาจจะอยู่ในลักษณะที่ผู้จัดการเนื้อหา ส่งเนื้อหาผ่านสื่อ ผ่านช่องทางให้ผู้เรียน ทีละน้อย เป็นช่วงเวลา ผู้เรียนสามารถรับรู้ในเวลานั้น หรือจะจัดเก็บก่อนแล้วมาเรียนรู้ในภายหลัง ตัวอย่างของวิธีการนี้ที่เห็นได้ชัดก็คือวิธีการส่งข้อมูลการเรียนรู้ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
             แต่ในสภาพจริงที่เป็นอยู่ นวัตกกรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้นมาในแต่ละชนิด หรือแต่ละวิธีการนั้นอาจจะมีรูปแบบที่ใช้เงื่อนไขกระบวนการใด กระบวนการหนึ่ง หรือมีทั้งแบบผสมผสานเพื่อรองรับ ช่วงเวลา โอกาส เงื่อนไข ตัวแปร ความพร้อม หรือความสามารถในการเข้าถึงที่จะเรียนรู้ แต่การศึกาาจะมีผลสมบูรณ์ได้นั้น ยังต้องขึ้นกับองค์ประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้ นั่นคือ ผู้สร้างองค์ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพบรรยากาศของการเรียนรู้ในมิติของชีวิตจริงในเวลานั้น(Face to face) ที่ยังคงใช้ห้องเรียนเป็นหลัก หรือเป็นผู้วางสาระเนื้อหาพร้อมปัจจัยการเรียนรู้ผ่านสื่อ ผ่านช่องทางหรือวิธีการต่างๆ ผู้สร้างองค์ความรู้ผู้นั้น ก็คือ สิ่งที่เราเรียก หรือ เคยเรียก ว่า ครู นั่นเอง
                      ที่สำคัญคือการสร้างความรู้ ให้ผุ้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้มีความเข้าใจด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลดช่องว่างของความสับสนในเรื่องของนวัตกรรมทางการศึกษา สามารถแยกแยะความหมายของ ระบบและวิธีการเรียนรู้ (Systems approach to learning) กับสื่อการเรียนรู้ (Media for learning) ให้ชัดเจน เมื่อถึงเวลานั้น การสร้างสื่อเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน หรือการพัฒนากระบวนการ ระบบ หรือวิธีการเรียนรู้ ในภาพรวมก็จะมีกรอบ มีทิศทาง นำไปสู่การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการศึกษา